โรงเรียนอนุบาลหนองป่าครั่ง โดย
1. เด็กชายนนทพัทธ์ ธรรมปัญญา
2. เด็กชายบุณยกร สุรณีย์
3. เด็กหญิงพัสวี สอดส่อง
ครูที่ปรึกษา
1. นางจารุณี สมใจกูล
2. นางปรียาดา อะโนมา
ประเด็นที่1 เป้าหมายแรงจูงใจในการสร้างนวัตกรรม
เลือกทำโครงงานนี้ เนื่องจากว่า เพื่อน ๆ พี่ ๆ และน้อง ๆ ในระดับชั้นมัธยมศึกษามีพื้นฐานในด้านการ บวก ลบ คูณ หาร ไม่ดีเท่าที่ควร จึงเกิดปัญหาต่อการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ และทำให้ไม่ชอบคณิตศาสตร์ไปด้วย นักเรียนจึงอยากที่ช่วยกันแก้ไขปัญาหานี้ โดยตั้งคำถามว่า“จะทำอย่างไรให้นักเรียนมีทักษะทาง
ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงงาน
1. นักเรียนได้รับการพัฒนาความรู้ทางคณิตศาสตร์ในเรื่องการบวก การลบ การคูณ และการหารจำนวนเต็มและแรงจูงใจในการเรียน
2. ได้เกมคณิตศาสตร์เรื่อง การบวก การลบ การคูณ และหารจำนวนเต็ม เล่นผ่านระบบออนไลน์ ที่มีประสิทธิภาพ ใช้งานง่าย และสามารถเข้าถึงได้สะดวก
3. นักเรียนมีทัศนคติที่ดีในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรียนรู้ด้วยความสนุกสนาน ตื่นเต้น ท้าทาย ไม่เบื่อ ได้รับการเสริมแรงในขณะที่เล่นได้ทันที คณิตศาสตร์พื้นฐานของการคำนวณที่ดีขึ้น”
ประเด็นที่2 ไอเดียการพัฒนา กระบวนการพัฒนามีลำดับขั้นตอนใดบ้าง
นักเรียนใช้กระบวนการ STEAM Design Process เป็นเครื่องมือสำคัญในการคิดค้นและพัฒนาผลงานหรือนวัตกรรมนี้ ผ่าน 5 ขั้นดังนี้
ขั้นที่ 1 (Ask) ปรึกษาครูว่า อยากทำโครงงานเรื่อง บวก ลบ คูณ หาร จำนวนเต็ม ซึ่งครูก็ให้การสนับสนุนเต็มที่ จึงได้ทำแบบสอบถามและสัมภาษณ์เพื่อน ๆ ในโรงเรียน ก็ได้รับคำตอบเป็นเสียงเดียวกันว่าอยากเรียนรู้เรื่องนี้เช่นกัน เพราะยังขาดพื้นฐานอยู่มาก
ขั้นที่ 2 (Imagine) ได้ศึกษาข้อมูลและเนื้อหาต่าง ๆ เพื่อนำมาออกแบบโครงการผ่าน Website Game เพราะคิดว่าเด็กทุกคนชอบเล่นเกมอยู่แล้วจึงคิดว่าออกแบบคณิตผ่านเกมน่าจะสนุกมากกว่าการมานั่งเรียนเฉยๆ
ขั้นที่ 3 (Plan) ได้ร่วมกันวางแผนถึงวิธีการสร้างเกม วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ ขั้นตอนการสร้าง โดยมีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบกันอย่างชัดเจน
ขั้นที่ 4 (Create) ได้ร่วมกันสร้างเกมตามที่ได้วางแผนไว้ โดยในขั้นนี้ใช้เวลาค่อนข้างนาน แต่เจอปัญหาน้อยมาก หรือแทบไม่เจอปัญหาเลย เพราะมีการวางแผนมาเป็นอย่างดี
ขั้นที่ 5 (Reflect&Redesign) ซึ่งเป็นขั้นสุดท้ายของกระบวนการ ได้นำเกมที่สร้างเสร็จสมบูรณ์ไปเล่นกับเพื่อน ๆ พี่ ๆ และน้อง ๆ ในระดับชั้นมัธยม ซึ่งได้รับผลตอบรับในระดับดีเยี่ยม
ประเด็นที่3 ผลลัพธ์/ประโยชน์ Feedback ผลจากผู้ใช้นวัตกรรม
1. จากการใช้แบบประเมินความพึงพอใจต่อการเรียนรู้เนื้อหาเรื่อง การบวก การลบ การคูณ และการหารจำนวนเต็ม โดยใช้รูปแบบผ่านระบบออนไลน์โดยรวม อยู่ในระดับมาก (X=4.50) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 โรงเรียนอนุบาลหนองป่าครั่ง จำนวน 30 คน
2. เป็นการพัฒนาความรู้ความสามารถ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ การเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ และความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ส่งเสริมสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนด้านความสามารถในการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์อีกด้วย
ประเด็นที่4 แนวทางการพัฒนาต่อยอดนวัตกรรมในอนาคต
คิดว่าอยากต่อยอดโดยการนำเกมไปให้น้อง ๆ ระดับชั้น ป.6 ได้เล่นด้วย เพราะจะทำให้น้องมีพื้นฐานการเรียนคณิต และเมื่อขึ้นมาในระดับชั้นมัธยมก็จะทำให้เข้าใจในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ด้านการบวก ลบ คูณ หาร จำนวนเต็มได้มากขึ้นนั่นเอง
ภาพผลงานหรือนวัตกรรม
การสร้างเนื้อหาเรื่อง การบวก การลบ การคูณ และการหารจำนวนเต็ม ผ่านระบบออนไลน์
หลักการดำเนินพื้นฐานของจำนวนเต็ม ผ่านเว็บไซต์ Gather Town ได้ผลการดำเนินงาน ดังนี้