top of page

จุดประกายความคิด เติม ต่อ ติดนวัตกรรมสถานศึกษา

อัปเดตเมื่อ 7 ธ.ค. 2566



มีความท้าทายอย่างมากในโลกปัจจุบันที่เกิดจาก Digital Revolution เช่น เทคโนโลยี AI Big data หุ่นยนต์ เข้ามา disrubt ระบบการศึกษา ทำให้มุมมองของการศึกษาที่ถูกเรียกร้องจากภาคประชาสังคม ภาคธุรกิจ ให้เราเร่งปฏิวัติวงการศึกษา เพราะตอนนี้เราก้าวผ่านจากโลก VUCA world มาเป็น BANI world ซึ่งเป็นโลกแห่งความผันผวน ไม่แน่นอน เป็นโลกแห่งความกังวล

ยกตัวอย่าง ประเทศญี่ปุ่นมีการเปลี่ยนแปลงเป็นสังคม 5.0 ที่ต้องขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีต่างๆ ที่เข้ามาช่วยเปลี่ยนแปลงมุมมองความคิดของคน

ประเทศไทยเราจะต้องเตรียมความพร้อมเรื่องคน และทักษะต่างๆ ในการเข้าสู่สังคมยุค 5.0 ซึ่งได้แก่ ยานยนต์อัจฉริยะ telemedicine (การให้บริการด้านสาธารณสุขกับประชาชน) พลังงานทดแทน และ โฮมสมาร์ทซิตี้ต่างๆ เพื่อพัฒนาทักษะของเด็กๆ ให้เตรียมรับมือได้ ซึ่ง OECD ได้ออกทิศทางในการจัดการศึกษาขึ้นมา โดยกำหนดว่าจะต้องมุ่งเน้นสมรรถนะของผู้เรียน ได้แก่ ด้านความรู้ ด้านทัศนคติ และด้านเจตคติให้ร้อยเรียงกัน เพื่อการทำงานในโลกอนาคต

ดังนั้นสิ่งที่การศึกษาไทยจะต้องเปลี่ยนวันนี้ คือ การสอนฐานสมรรถนะ ซึ่งการปรับเปลี่ยนหลักสูตรจะต้องประกอบด้วย

  1. เปลี่ยนเป้าหมายของการจัดการศึกษา

  2. เปลี่ยนโครงสร้างตารางเวลาการจัดการเรียนการสอน เช่น ให้นักเรียนเรียนน้อยลง เพื่อให้นักเรียนได้มีเวลาในการฝึกทักษะมากยิ่งขึ้น

  3. สร้างรายวิชาขึ้นมาใหม่ในบางหลักสูตร

  4. ตัดรายวิชา หรือยุบสาระบางสาระ และปรับเนื้อหาใหม่

นอกจากนี้ ในมุมมองของสถาบัน เช่น มหาวิทยาลัย ก็มีเป้าหมายคือการมุ่งเน้นสมรรถนะ และเชื่อมโยงกับการบริหารของโรงเรียน บูรณาการกับสายอาชีพ ซึ่งจะต้องเรียนทั้ง Hard Skill และ Soft Skill ซึ่งอิงตาม CBE Thailand ที่สมรรถนะมีทั้งหมด 6 ประการ ได้แก่

  1. การจัดการตัวเอง

  2. ความคิดขั้นสูง

  3. การสื่อสาร

  4. การรวมพลังทำงานเป็นทีม

  5. การเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง

  6. การอยู่ร่วมกับธรรมชาติและวิทยาการอย่างยั่งยืน

เพื่อสร้างเด็กคิดได้ ทำเป็น เห็นคุณค่า

จากการเริ่มต้นปรับเปลี่ยนแนวคิดของผู้บริหาร จึงเริ่มเกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ (Innovation) ขึ้นมา ซึ่งการเป็น ‘นวัตกรรม’ จะต้องมีลักษณะต่อไปนี้ 1) ความใหม่ (New) 2) มีความแตกต่าง (Differentiation) 3) ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Adding) 4) ต้องดีกว่าเดิม (Better)

ตัวอย่าง ‘นวัตกรรม’ ที่ค้นพบจากโรงเรียนในพื้นที่นวัตกรรมจังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่

นวัตกรรมที่ 1: นวัตกรรมหลักสูตร ผู้บริหารมีการกำหนดอัตลักษณ์พิเศษของตัวเองและบูรณาการลงไปในรายวิชา เช่น สร้างแผนการเรียนพิเศษขึ้นมา

นวัตกรรมที่ 2: นวัตกรรมการสอนคุณครูมีการสร้างนวัตกรรมการสอน เช่น โครงการ โครงงาน ให้นักเรียนด้วยตนเองได้

นวัตกรรมที่ 3 : นวัตกรรรมการเรียนรู้ด้วยตนเอง เช่น ชุมชนการเรียนรู้ด้วยตนเอง ฐานการเรียนรู้

นวัตกรรมที่ 4: นวัตกรรมการเชื่อมโยงระบบสารสนเทศ เช่น ระบบ LMS การเชื่อมโยง Portfolio ต่างๆ

นวัตกรรมที่ 5 : นวัตกรรมการวัดและประเมินผล

ตัวอย่าง 1) โรงเรียนพิมานเด็กเชียงใหม่

Vision = วิสัยทัศน์ต้องเขียนให้สั้น ทุกคนในโรงเรียนรับรู้ ตอบได้

Curriculum = ปรับหลักสูตรใหม่ ได้แก่ ภาคเช้า วิชาหลัก (ไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ภาษาอังกฤษ) สัมพันธ์กับการสอบ Onet / ภาคบ่าย บูรณาการ 4 กลุ่มสาระที่เหลือ ได้แก่ สังคมศึกษา พละสุขศึกษา การงานอาชีพ จัดการเรียนรู้ตามบริบทของโรงเรียน โดยมี theme ทั้งหมด 8 theme ได้แก่

1. เราคือผู้นำ Proactive

2. โลกผันผวนไร้พรมแดน

3. ภูมิใจภูมิปัญญาอัตลักษณ์เชียงใหม่

4. นวัตกรรมสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อม

5. สังคมพหุวัฒนธรรมสมัยใหม่

6. ความเป็นอยู่ที่ดีในโลกดิจิทัล

7. ความเป็นพลเมืองโลก

8. นวัตกรรมแบบฐานอาชีพ

และมีการเชื่อมโยงกับมาตรฐานตัวชี้วัด โดยใบปพ. จะมี 2 version ซึ่งเป็นนวัตกรรมการเรียนรู้ร่วมกับครูเกิดเป็นนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ ชื่อว่า พิมานเด็ก 7 ส ได้แก่ สร้างสถานการณ์เรียนรู้ / สร้างสรรค์ สอบทาน/ สื่อสาร/ สานความรู้/ เสนอผลงาน/ สะท้อนผล

ตัวอย่าง 2) นวัตกรรมการบริหารสถานศึกษา ชื่อ นวัตกรรมการพัฒนาวิชาชีพสำหรับการสอนอาชีวะ

กระบวนการสุดซ่า กำลัง 3 (SUDSx3A)

S = Survey สำรวจ

U = Upskill ครูผู้สอน

D = Develop พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้

Sx3 = School กระบวนการลงติดตามโรงเรียน

Supervise การนิเทศติดตาม

Share แบ่งปันแลกเปลี่ยนเรียนรู้

A = Asses ประเมินเมื่อครูไปสอนจริงแล้ว

ซึ่งใช้กระบวนการพัฒนานวัตกรรม ได้แก่ PDCA (Plan / DO / Check / Act)

ตัวอย่าง 3) นวัตกรรมการนิเทศเพื่อพัฒนาครูสู่การสอนฐานสมรรถนะ : 3P4E Super PLC Model

เป็นนวัตกรรมที่ให้ผู้บริหารเข้าไปกระตุ้นให้ครูสอนฐานสมรรถนะได้ และมีการทำ PLC

ซึ่งเป้าหมาย คือต้องการพัฒนาสมรรถนะของคุณครู

ตัวอย่าง 4) HOMPOY model นวัตกรรมการบริหารการศึกษา และใช้เครื่องมือดิจิทัลในการส่งงานต่างๆ เพื่อการแลกเปลี่ยนกัน

ตัวอย่าง 5) นวัตกรรมการพัฒนาหลักสูตรสู่อาชีพยุค 5.0 ด้วย “ALPHA” Model

กรอบหลักสูตรเสริมทักษะ ที่มีการปรับหน่วยการเรียนรู้ เพื่อตอบโจทย์อาชีพ 5.0

ตัวอย่าง 6) PLearn Application (เพลิน แอปพลิเคชั่น) นวัตกรรมแพลตฟอร์มดิจิทัล สนับสนุนการเรียนรู้ PLearn Application (เพลิน แอปพลิเคชั่น) #แอพเดียวพอ ไม่ต้องขอเพิ่ม ใช้แนวคิดของ 9P’s ได้แก่ Practice / Playing / Platform เป็นแอปพลิเคชั่น เพื่อรวบรวมแหล่งความรู้ต่างๆ ไว้ในที่เดียว คุณพ่อคุณแม่สามารถเข้ามามีส่วนร่วมได้

สรุปการพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนจึงมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้น ผู้บริหารจึงจำเป็นต้องมี

  1. วิสัยทัศน์

  2. เติมเต็มความรู้และความเข้าใจของตนเองเสมอ

  3. มีทักษะ และลักษณะที่จำเป็น เพื่อให้เกิดการผลักดันให้คุณครูเรียนรู้ได้

ทางทีมวิทยากร หวังว่าความรู้ในการแลกเปลี่ยนกันในวันนี้ ผู้บริหารทุกท่านจะสามารถนำไป เติม เติมความรู้ หรือมุมมองใหม่ๆ ในการศึกษายุคปัจจุบัน และต่อ ปะติดปะต่อ และเชื่อมโยงนวัตกรรมให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น สุดท้าย ติด คือ ฟังแล้วติดใจ สามารถนำประเด็นไปขยายต่อได้

ทั้งนี้ จึงขอทิ้งคำถามแลกเปลี่ยน เพื่อการนำแนวคิดการสร้างนวัตกรรมการบริหารสถานศึกษาไปปรับใช้

  1. ผู้บริหารโรงเรียนยุคดิจิทัลในปัจจุบันและอนาคต ควรได้รับการเติมเต็มและพัฒนาตนเองในเรื่องใดบ้าง

  2. รูปแบบหรือวิธีการในการพัฒนาควรเป็นอย่างไร

  3. ระยะเวลาและช่วงเวลาในการพัฒนา ควรเป็นอย่างไร





ดู 48 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page