1. ทีม RoboMind Air4All67 จาก ROBOMIND LEARNING CENTER จังหวัดเชียงใหม่
กับนวัตกรรมเครื่องฟอกอากาศแบบพกพา – Air4All67
นวัตกรรมเครื่องฟอกอากาศแบบพกพา "Air4All67" เป็นนวัตกรรมที่ถูกออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์และแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศในหลายรูปแบบ ทั้งในด้านการลดมลพิษส่วนบุคคล ความสะดวกในการพกพาและใช้งาน ความคุ้มค่าและการเข้าถึง การส่งเสริมการเรียนรู้และนวัตกรรมในชุมชน รวมถึงการลดภาระทางเศรษฐกิจและสุขภาพของประชาชน โดยนำเทคโนโลยีที่เข้าถึงได้ง่ายและมีประสิทธิภาพสูง
นวัตกรรมนี้ตอบโจทย์แก้ไขปัญหาในรูปแบบใด
• การลดมลพิษทางอากาศ สามารถกรองอนุภาคขนาดเล็ก สามารถกรองฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 และอนุภาคที่เป็นอันตรายอื่น ๆ ออกจากอากาศที่ผู้ใช้หายใจเข้าไปได้ ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคทางเดินหายใจและโรคอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับมลพิษทางอากาศ
• ความสะดวกในการพกพาและใช้งาน ด้วยขนาดเล็กและน้ำหนักเบา ทำให้เครื่องฟอกอากาศ Air4All67 สามารถพกพาไปใช้ได้ทุกที่ ไม่ว่าจะเป็นในที่ทำงาน โรงเรียน ในเวลาเดินทาง ใช้รถ ใช้ถนน ทำให้ผู้ใช้สามารถหายใจอากาศบริสุทธิ์ได้ตลอดเวลา ใช้งานง่าย ออกแบบให้ใช้งานง่าย ไม่ต้องมีการติดตั้งซับซ้อน ผู้ใช้สามารถเปิดเครื่องและใช้งานได้ทันที
• ความคุ้มค่าและการเข้าถึง มีราคาประหยัดไม่เกิน 400 บาท ซึ่งถูกกว่าราคาเครื่องฟอกอากาศในท้องตลาดที่มักมีราคาสูงกว่า 1500 บาท ทำให้ผู้คนที่มีรายได้น้อยสามารถเข้าถึงและใช้งานได้ และการเลือกใช้วัสดุและส่วนประกอบที่หาได้ง่ายในท้องตลาด เช่น พัดลม แบตเตอรี่ และฟิวเตอร์ สามารถซ่อมแซมและบำรุงรักษาเครื่องได้ด้วยตนเอง
• การส่งเสริมการเรียนรู้และนวัตกรรมในชุมชน นวัตกรรมนี้ไม่เพียงแต่แก้ปัญหามลพิษทางอากาศ แต่ยังส่งเสริมให้ผู้คนในชุมชนมีความคิดสร้างสรรค์และมีแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ จากวัสดุที่หาได้ง่ายในท้องตลาด กระบวนการพัฒนาเครื่องฟอกอากาศนี้ยังเป็นตัวอย่างในการนำหลักการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาทักษะการประดิษฐ์ให้กับนักเรียนและนักประดิษฐ์ในชุมชน
• การลดภาระทางเศรษฐกิจและสุขภาพ ลดการสัมผัสมลพิษทางอากาศช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคทางเดินหายใจและโรคอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ใช้ ลดการสูญเสียการผลิตจากการที่ประชาชนต้องหยุดงานเนื่องจากปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับมลพิษทางอากาศ
สามารถรับชม VDO การแข่งขันได้ที่ ลิงก์ : https://bit.ly/3Ahwh0U
2. ทีม WASEN จากโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม จังหวัดกรุงเทพมหานคร
กับนวัตกรรม WASEN
ใช้แนวคิด Waste-to-energy แปรรูปขยะจากธุรกิจ คือ เศษป๊อบคอร์นและน้ำมันใช้แล้ว นำมาพัฒนาเป็นพลังงานถ่านชีวภาพ 100%
นวัตกรรมนี้ตอบโจทย์แก้ไขปัญหาในรูปแบบใด
นวัตกรรมนี้ช่วยลดขยะที่เกิดจากธุรกิจของเราสู่ชุมชน ซึ่งทำให้สามารถลดคาร์บอนเครดิตและแก๊สเรือนกระจกจากการทิ้งขยะได้ ถ่านป๊อปคอร์นของเราเป็นแหล่งพลังงานทางเลือกที่สามารถใช้แทนที่ถ่านไม้ ที่อาจทำให้เกิดการตัดไม้ทำลายพื้นที่ป่า โดยในไทยและประเทศในเอเชียมีการใช้ถ่านในการทำอาหารมาก เช่น ร้านค้าริมทาง ร้านหมูกระทะ การปิ้ง BBQ หรือ กิจกรรมกลางแจ้ง เช่น การออกค่าย (camping) สามารถใช้ถ่านเราแทนได้เนื่องจากเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม, มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบาพกพาง่าย สามารถใช้ได้จนหมดในครั้งเดียว และใช้ส่วนผสมที่ปลอดภัยจากสารเคมีที่อันตราย
นวัตกรรมนี้ทั้งยังช่วยลดค่าใช้จ่ายการทิ้งขยะให้กับธุรกิจของเรา และยังอาจสามารถสร้างรายได้เพิ่มขึ้นให้ธุรกิจจากการขายถ่าน
สามารถรับชม VDO การแข่งขันได้ที่ ลิงก์ : https://bit.ly/4hPA5HF
3. ทีม Smart PRC จากโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่
กับนวัตกรรม Intelligent Classroom (ห้องเรียนอัจฉริยะ)
เทคโนโลยีนวัตกรรมห้องเรียนอัจฉริยะมาพร้อมกับระบบฟังก์ชั่นอันหลากหลายที่สามารถแก้ปัญหาและพัฒนาคุณภาพต่อการเรียนของผู้เรียนในอนาคต
นวัตกรรมนี้ตอบโจทย์แก้ไขปัญหาในรูปแบบใด
“Intelligent Classroom( ห้องเรียนอัจฉริยะ )” ตอบโจทย์ในการแก้ปัญหาในด้านจัดการทั้ง 2 ประเภทดังต่อไปนี้
1.) ด้านทรัพยากรมนุษย์
- ลดปัญหาการจัดการทำงานของจำนวนนักเรียนที่มีจำนวนมาก
- ลดปัญหาการผิดพลาด ขัดข้องของตัวผู้เรียน
- อำนวยความสะดวกด้านการจัดการต่อคุณครู และผู้เรียน
2.) ด้านทรัพยากร ธรรมชาติ
- ลดปัญหาการใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลือง
- ลดปัญหาการได้รับผลกระทบจากเหตุภัยธรรมชาติ
สามารถรับชม VDO การแข่งขันได้ที่ ลิงก์ : https://bit.ly/3YS4b5v
Comments