1. ทีมตัวเราและวิถีชีวิตในชุมชนบ่อแก้ว จากโรงเรียนบ้านบ่อแก้ว จังหวัดเชียงใหม่ กับนวัตกรรมการพัฒนาการอ่านออกเขียนได้ ลายมือสวย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 โดยใช้แบบฝึกทักษะภาษาไทย "ตัวเราและวิถีชีวิตในชุมชนบ่อแก้ว" ผ่านรูปแบบการจัดการเรียนรู้ PCDNS
สร้างนวัตกร ตามวิถีชีวิตในท้องถิ่น เรียนรู้เชิงรุก ได้ทุกที่ ทุกเวลา ผ่านนวัตกรรมการศึกษา "ตัวเราและวิถีชีวิตในชุมชนบ่อแก้ว"
นวัตกรรมนี้ตอบโจทย์แก้ไขปัญหาในรูปแบบใด
โรงเรียนบ้านบ่อแก้วมีกรอบแนวคิด ในการพัฒนาทักษะ การอ่านออก เขียนได้ ลายมือสวย ผ่านการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โดยมีการเชื่อมโยงความสัมพันธ์กัน ระหว่างสภาพปัญหาและความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย นโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ นโยบายและจุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และนโยบายและจุดเน้นของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2 งบประมาณ หลักสูตรสถานศึกษา นำไปสู่กระบวนการพัฒนานักเรียนด้วยโมเดลการจัดการเรียนรู้แบบ PDCNs โดยอาศัยความร่วมมือจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน ผู้ปกครอง และชุมชน เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านออก เขียนได้ ลายมือสวย
สามารถรับชม VDO การแข่งขันได้ที่ ลิงก์ : https://bit.ly/4hQNbUJ
2. ทีม SMD Team จากโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายมัธยมศึกษา (มอดินแดง) จังหวัดขอนแก่น
กับนวัตกรรมบอร์ดเกมเพื่อการเรียนรู้
“บอร์ดเกม” เป็นนวัตกรรมการเรียนรู้ที่ช่วยเสริมสร้างทักษะด้านความรู้ (hard skills) ควบคู่กับทักษะด้านอารมณ์ (soft skills) SMD Team จึงมีความสนใจในสร้างและออกแบบบอร์ดเกม โดยมีผลงาน 3 บอร์ดเกมการเรียนรู้ ประกอบด้วย 1) บอร์ดเกม Where are you? สำหรับระดับประถมปลาย 2) บอร์ดเกมพยัญชนะหายไปไหน? สำหรับระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และ 3) บอร์ดเกม Just say NO สำหรับระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เพื่อเป็นแนวทางหนึ่งของการพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาในการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด
นวัตกรรมนี้ตอบโจทย์แก้ไขปัญหาในรูปแบบใด
บอร์ดเกมเป็นนวัตกรรมการเรียนรู้รูปแบบหนึ่งที่ช่วยเสริมสร้างการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน โดยสามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลอันเป็นผลมาจากการฝึกฝนหรือการมีประสบการณ์จากกลไกของเกม บอร์ดเกมได้ถูกพัฒนาเป็นเครื่องมือหนึ่งของการเรียนรู้จนเกิดเป็นนวัตกรรมทางการศึกษารูปแบบใหม่ นอกจากจะทำให้ผู้เล่นสามารถพัฒนาทักษะด้านความรู้ (hard skills) ควบคู่กับทักษะด้านอารมณ์ (soft skills) ได้อย่างเป็นอย่างดี โดยบอร์ดเกมสามารถนำเอาองค์ความรู้ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือนำเอาองค์ความรู้หลายอย่างนำมาบูรณาการเพื่อส่งเสริมความรู้ได้ทั้งในชั้นเรียนและสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองนอกชั้นเรียนได้อีกด้วย
สามารถรับชม VDO การแข่งขันได้ที่ ลิงก์ : https://bit.ly/3AjZJ6t
3. ทีม KRU KKW แก้งคร้อ จากโรงเรียนแก้งคร้อวิทยา จังหวัดชัยภูมิ กับนวัตกรรม SPARK KIDS
การเกิดฟ้าผ่า ฟ้าแลบ ฟ้าร้อง เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติซึ่งเกิดจากการเคลื่อนที่ของประจุอิเล็กตรอนภายในก้อนเมฆ หรือระหว่างก้อนเมฆกับก้อนเมฆ หรือเกิดขึ้นระหว่างก้อนเมฆกับพื้นดิน การเคลื่อนที่ขึ้นลงของกระแสอากาศ ภายในเมฆคิวมูโลนิมบัส ทำให้เกิดความต่างศักย์ไฟฟ้าในแต่ละบริเวณของก้อนเมฆและพื้นดินด้านล่าง คณะผู้จัดทำสนใจในการสร้างสื่อการเรียนการสอน "SPARK KIDS" ในการอธิบายการเกิดฟ้าผ่า และศึกษาวิธีการป้องกันตัวจากการเกิดฟ้าผ่าในสถานการณ์ต่างๆ
นวัตกรรมนี้ตอบโจทย์แก้ไขปัญหาในรูปแบบใด
สื่อการเรียนการสอนเพื่ออธิบายการเกิดฟ้าร้อง ฟ้าแลบ และฟ้าผ่า ซึ่งเป็นปรากฎการณ์ทางธรรมชาติที่อยู่ใกล้ตัวนักเรียนและศึกษาวิธีการป้องกันตัวจากการเกิดฟ้าร้อง ฟ้าแลบ และฟ้าผ่า ในสถานการณ์ต่างๆ
สามารถรับชม VDO การแข่งขันได้ที่ ลิงก์ : https://bit.ly/3UEYINg
4. ทีม RPG 60 จากโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 60 จังหวัดเชียงใหม่ กับนวัตกรรม New gen Dekdoi
"การจัดการศึกษาของโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 60 จังหวัดเชียงใหม่ ในระดับประถมศึกษา จัดการศึกษาตามหลักสูตรสถานศึกษาฐานสมรรถนะ โดยใช้นวัตกรรมการบริหารงานโรงเรียนพื้นที่นวัตกรรมโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 60 จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้รูปแบบ DAKDOI MODEL โดยมุ่งพัฒนาผู้เรียนระดับประถมศึกษาในการพัฒนาความรู้ ทักษะ เจตคติ และค่านิยม อันจะเป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตและอนาคต มุ่งเน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ที่จะเกิดกับผู้เรียน ในการประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ เจตคติ และคุณลักษณะต่าง ๆ ไปใช้ในการปฏิบัติจริงในสถานการณ์ต่าง ๆ ในการทำงาน และในชีวิตประจำวัน จนกระทั่งเกิดเป็นสมรรถนะ การจัดการตนเอง การคิดขั้นสูง การสื่อสาร การรวมพลังทำงานเป็นทีม การเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง การอยู่ร่วมกับธรรมชาติและวิทยาการอย่างยั่งยืน ในระดับที่ต้องการ และเป็นการจัดการเรียนรู้เชิงบูรณาการในศาสตร์ต่าง ๆ จึงมีโครงสร้างรายวิชาบูรณาการทุกระดับชั้น ได้แก่
• ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ชื่อรายวิชา บ้านใหม่ของเรา
• ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ชื่อรายวิชา ภูมิใจในบ้านเกิด
• ประถมศึกษาปีที่ 3 ชื่อรายวิชา ชีวิตสาย “ช”
• ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ชื่อรายวิชา ตามรอยพ่อ
• ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ชื่อรายวิชา สานต่อภูมิปัญญา
• ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ชื่อรายวิชา พัฒนาทักษะชีวิต "
นวัตกรรมนี้ตอบโจทย์แก้ไขปัญหาในรูปแบบใด
เพื่อพัฒนาความรู้ในสถานศึกษา สร้างให้ผู้เรียนเป็นนวัตกรน้อย มีพัฒนาการในทุก ๆ ด้าน อย่างมีคุณภาพ และพัฒนาโรงเรียนเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้อย่างแท้จริง
สามารถรับชม VDO การแข่งขันได้ที่ ลิงก์ : https://bit.ly/3YFJMPU
5. ทีม L&M Teacher as Coach จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ กับนวัตกรรม Coaching Card GROW Model
เพราะทักษะสำคัญของการเป็นโค้ชคือทักษะการตั้งคำถามและฟังด้วยใจ การ์ดเกม Coaching Card GROW Model จะช่วยให้โค้ชมือใหม่ได้ฝึกฝนการถามและการฟังไปพร้อมความสนุกที่ได้จากการเล่นการ์ดเกมนี้
นวัตกรรมนี้ตอบโจทย์แก้ไขปัญหาในรูปแบบใด
เป็นการฝึกโค้ชมือใหม่ที่ยังขาดทักษะการฟังด้วยใจและการใช้คำถามทรงพลัง ช่วยในการเลือกใช้คำถามได้อย่างเหมาะสมกับจังหวะการถามและช่วยให้โค้ชชี่เกิดการคิดทบทวน คิดหาทางออกได้ด้วยตัวเอง ได้เห็นจุดแข็งหรือศักยภาพของตนเอง ในบรรยากาศที่ไม่กดดัน ตึงเครียด แถมยังเพลิดเพลินสนุกสนานอีกด้วย
สามารถรับชม VDO การแข่งขันได้ที่ ลิงก์ : https://bit.ly/40vTK9d
Comentarios