ChatGPT ย่อมาจาก Generative Pre-trained Tranformer คือ ปัญญาประดิษฐ์ที่สามารถสนทนากับมนุษย์ได้ ผ่านข้อความในรูปแบบของแชท โดยสามารถเรียนรู้และเข้าใจภาษา และมีการปรับปรุงเพื่อให้สามารถให้คำตอบที่เป็นประโยชน์และเกี่ยวข้องกับคำถามหรือคำสั่งที่ได้รับให้ได้ดียิ่งขึ้นเรื่อยๆ
ข้อจำกัดของ ChatGPT ได้แก่
ChatGPT ไม่ได้รับประกันความถูกต้องของข้อมูล
บางครั้งอาจจะให้คำตอบที่เป็นอันตราย หรือมีอคติได้ ขึ้นอยู่กับข้อมูลที่ได้รับการฝึกฝน
ความรู้ทั่วไปของ ChatGPT ถูกจำกัดอยู่ที่ปี 2021
ปัญหาการใช้ ChatGPT ได้แก่
ไม่รู้ว่ามันทำอะไรได้บ้าง
ไม่รู้ว่าจะต้องถามอย่างไร
ขาดการใส่บริบท ทำให้คำตอบออกมาไม่ตรง
หัวข้อตัวอย่างการพูดคุยกับ ChatGPT ได้แก่
Can you create trip for 2 days in Thailand?
Can you summarize the Doraemon story for me?
Give me 10 ideas for a start up brand.
Can you give me an exercise plan for 10 days?
เทคนิคการคุยกับ ChatGPT อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่
ให้บทบาทกับ ChatGPT เช่น You are a teacher. Can you summarize Doraemon for me
กำหนดเงื่อนไขที่ต้องการ เช่น You are a teacher. Can you summarize Doraemon for me in 100 words?
กำหนดบริบทต่างๆ เช่น You are a teacher for kid in G-6. Can you summarize Doraemon for me in 100 words?
* Template การคุยกับ ChatGPT : You are (ตำแหน่ง, อาชีพ, บทบาท), Can you create (สิ่งที่อยากให้ทำ, บริบท) เช่น You are Content Creator. Can you create 10 ideas of Tiktok Content about Coding for kids.
เทคนิคการใช้ ChatGPT ในการออกแบบการสอน
ใส่คำสั่งบทบาท และความต้องการลงไป เช่น You are Mathematics teachers. Can you create course on Math for 9th grade students in 4 weeks.
ใส่หัวข้อที่ต้องการ เช่น You are Mathematics teachers. Can you create course on Math for 9th grade students in 4 weeks. Topic include the following: Algebra and Equations, Geometric.
สร้างบทเรียนของแต่ละสัปดาห์ เช่น Create week (ลำดับของสัปดาห์) for (จำนวนชั่วโมง) hours, for (จำนวนวันต่อสัปดาห์)
สร้างแผนการสอนของแต่ละวัน เช่น Create lesson for (วันที่ต้องการ)
สร้างตัวอย่างบทพูดของคุณครู เช่น Create teacher script for this lesson
สร้างใบงาน / แบบฝึกหัดพร้อมเฉลย เช่น Create worksheet for lesson 1 for 10 questions include answer
แสดงวิธีคิดทีละขั้นตอน เช่น Can you create answer key and show me how to solve step by step ?
สร้างโจทย์รูปแบบต่างๆ เช่น Multiple - Choice / Fill-in-the-blank/ True-False/ Match-the-pair/ Sorting/ Classification/ Sequencing / Open-ended/ Closed-ended
สรุป 5 ข้อควรทำในการคุยกับ ChatGPT ได้แก่
ต้องชัดเจน ไม่กำกวม
กำหนด Role play (บทบาท) ให้ ChatGPT
ให้ข้อมูล หรือบริบทให้เพียงพอ
อธิบาย Task ให้ชัดเจน
ทดลอง และปรับปรุง
*อย่าเชื่อทุกอย่างจาก ChatGPT ควรตรวจสอบความถูกต้องก่อนใช้งาน
นอกจากนี้ วิทยากรได้ให้เทคนิคการเช็กนักเรียนว่านักเรียน copy งานจาก ChatGPT มาหรือเปล่า ดังนี้ 1.ครูชวนนักเรียนมาพูดคุยตัวต่อตัว ถามตอบให้แน่ใจว่านักเรียนใช้เพื่อหาไอเดีย หรือลอกมาเลย 2.ใช้ application ในการตรวจเช็กว่านักเรียน copy มาหรือเปล่า
กิจกรรมนี้ได้ให้ไอเดียที่เห็นเป็นรูปธรรม เพื่อให้คุณครูนำ ChatGPT ไปใช้ในการออกแบบการสอนของตัวเองได้อย่างแน่นอน
Comments