top of page
รูปภาพนักเขียนFutureEd Fest

Better communicate with your students

อัปเดตเมื่อ 7 ธ.ค. 2566



กิจกรรม Workshop หัวข้อ Better Communicate with Your Students โดยคุณ Florence Dinar Event Director,Experienced Team Manager,Nlp Practitioner,Life Coach,Level 4 Person-Centered Therapy Diploma ได้มาแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพกับนักเรียน โดยมีรายละเอียดต่อไปนี้

  • ประเด็นการเรียนรู้

  1. การสื่อสารและการศึกษา

  2. วิธีการที่ทำให้นักเรียนฟังครู

  3. วิธีการดึงความสนใจและสร้างแรงจูงใจให้แก่นักเรียน

  4. วิธีการทำให้นักเรียนเป็นส่วนหนึ่งของชั้นเรียน

  5. วิธีการสร้างกฎกติการ่วมกันในชั้นเรียน

  • การศึกษาคืออะไร

การศึกษาคืออะไร มาจากภาษาละติน EDUC ERE แปลว่า การนำเอาการศึกษาออกมาเป็นเรื่องเกี่ยวกับครูที่เกี่ยวกับศักยภาพและความสามารถของนักเรียนออกมาเพื่อเรียนรู้และเติบโต

สิ่งที่เรียนรู้ / ความรู้จักผลงาน , ทดสอบจากการสอบวิทยากรแนะนำถึงการสร้าง / ครูที่ดี / ผู้เรียนที่ดี

ยกตัวอย่าง

(การให้เด็กสามารถได้ขับรถเองได้) เป็นการเรียนรู้ที่เรียบง่าย การเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์

  • การสื่อสารที่ดีคืออะไร

- ต้องมีวัตถุประสงค์ หรือเป้าหมายทุกครั้ง

- สื่อสารด้วยพฤติกรรมเชิงบวก (ความหมายของการสื่อสารไม่ได้เป็นเพียงสิ่งที่คุณทำ และคำตอบที่คุณได้รับ)

  • การฟังที่ดี ต้องเริ่มจากคุณครูก่อน

- การถามความต้องการของนักเรียน

- การแสดงออกว่าครูกำลังฟังอย่างเข้าใจ เช่น การสบตา การพยักหน้า

- การปล่อยให้มีช่วงเวลาของความเงียบ

- การถามคำถามเพิ่มเติม

- การให้แนวทาง เพื่อให้นักเรียนหาคำตอบได้ด้วยตนเอง

  • วิธีการทำให้นักเรียนฟังคุณครู

  • ควรดึงความสนใจพวกเขาให้ได้

  • หาความต้องการของนักเรียนให้เจอ

  • คอยติดตามอารมณ์ของนักเรียน

  • ให้นักเรียนเป็นผู้เลือกการเรียนรู้ของตนเอง

  • วิธีการดึงความสนใจและสร้างแรงจูงใจให้แก่นักเรียน

  1. บอกเป้าหมายการเรียนรู้

  2. ทำให้นักเรียนมั่นใจในตนเอง

  3. ค้นหานักเรียนที่มีปัญหาและต้องการความช่วยเหลือ

  4. การเตรียมข้อมูลก่อนเข้าห้องเรียน

  5. พัฒนาการของผู้เรียนจากจุดเริ่มต้นจนจบชั้นเรียน

  6. ฟีดแบ็กเชิงบวกให้แก่ผู้เรียน

  7. เปิดโอกาสให้นักเรียนนำสิ่งที่ไปเรียนไปใช้ในชีวิตจริง

  • ตัวอย่างการสื่อสารที่ดีกับนักเรียน

*สิ่งที่ไม่ควรพูดกับเด็ก* เช่น

(เด็ก) หนูไม่เก่งคณิตศาสตร์ ไม่อยากทำแบบฝึกหัด

( ครู) ถ้าฝึกฝนหนูจะไม่มีวันทำได้เลย หรือ

(เด็ก) หนูไม่เก่งคณิตศาสตร์ ไม่อยากทำแบบฝึกหัด

( ครู) อย่าบ่น มันง่ายมากเลยนะ


*สิ่งครูควรทำแทน

  • การฟังอย่างกระตือรือร้น: พยักหน้า ฟัง 100% และปล่อยให้เด็กได้คิดกับตัวเองเงียบๆ

  • ทักษะการตั้งคำถาม:ด้วยการทำซ้ำประโยค เช่น บอกครูเพิ่มเติมได้ไหม เล่าให้ครูฟังหน่อย

  • แสดงความเห็นอกเห็นใจ: เช่น ครูเข้าใจหนูนะ ครูรู้ว่ามันไม่ได้ง่าย แต่ว่า ครูเชื่อว่าหนูทำได้

  • น้ำเสียง: มั่นใจ

เช่น

(เด็ก) หนูไม่เก่งคณิตศาสตร์ ไม่อยากทำแบบฝึกหัด

( ครู) อะไรที่ทำให้หนูคิดว่าหนูไม่เก่งคณิตศาสตร์ (ถามเพื่อเข้าใจ)

(เด็ก) คะแนนของหนูไม่ดีเลย

( ครู) ครูเข้าใจนะ นั่นอาจเพราะว่าเรายังไม่ได้ทบทวนสิ่งที่เราเรียนรู้มาในบางส่วนใช่ไหม (ถามเพื่อความเข้าใจ) งั้นเรามาเริ่มต้นกันใหม่ไหม หนูมีอะไรให้ครูช่วยยังไงบ้าง (เสนอความช่วยเหลือ)

  • วิธีการทำให้นักเรียนเป็นส่วนหนึ่งของชั้นเรียน แม้นักเรียนจะขี้อาย

  • รับฟังในมุมมองของเด็ก

  • ถามนักเรียนถึงเรื่องราวดีๆ ที่เคยเกิดขึ้น หรือความมั่นใจที่พวกเขาเคยมี

  • ถามนักเรียนว่า ถ้าเราอยากจะมีความรู้สึกดีๆ แบบนั้นอีก เราจะต้องทำอะไรบ้าง

  • ช่วยนักเรียนวางแผนและฝึกฝนตนเอง

  • วิธีการสร้างกฎกติกาในห้องเรียน

  • ถามนักเรียนถึงความสำคัญของกฎกติกา

  • ถามนักเรียนว่ากติกาในความคิดของตนเองคืออะไร

  • ถามนักเรียนว่าอยากให้ห้องเรียนของเรามีกติกาอะไรร่วมกันบ้าง

  • ครูให้ความสำคัญกับนักเรียนทุกคน ทุกกฎที่ทุกคนเขียน

  • ครูเปิดพื้นที่ให้แลกเปลี่ยนกฎกติการ่วมกัน

  • ครูและนักเรียนหาข้อสรุปร่วมกัน เลือกสิ่งที่ดีที่สุดร่วมกัน รวมถึงกติกาที่ครูกำหนดเองด้วย

  • เขียนกฎกติกาที่สรุปได้ไว้ในที่สังเกตได้

  • ครูย้ำทวนกติกาเสมอ

หัวข้อกิจกรรมในวันนี้ จะช่วยทำให้คุณครูได้เทคนิคการสื่อสารเชิงบวกกับนักเรียนเพื่อกระชับความสัมพันธ์ในห้องเรียนให้แน่นแฟ้นมากขึ้น และสามารถนำไปปรับใช้ได้เลย





ดู 23 ครั้ง0 ความคิดเห็น

โพสต์ล่าสุด

ดูทั้งหมด

Kommentare


bottom of page